logo
กรมธนารักษ์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่แม่ฮ่องสอน
THE TREASURY
DEPARTMENT
MENU
  • A
  • A
  • A

เกี่ยวกับจังหวัด

 

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

  คำขวัญ

หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง

 

ตราประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน

รูปช้างในร่องน้ำ

 

หมายถึง การฝึกช้างป่าให้รู้จักการบังคับบัญชาในการรบและงานด้านต่าง ๆ สาเหตุที่ใช้รูปช้างในท้องน้ำเป็นตราประจำจังหวัดนั้นก็เพราะเป็นที่มาของการตั้งเมืองแม่ฮ่องสอน โดยเริ่มจากการที่เจ้าแก้วเมืองมาออกจับช้างให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2368 - 2389) และได้รวบรวมชายไทยใหญ่ให้มาตั้งบ้านเมืองเป็นหลักแหล่งขึ้น 2 แห่ง มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครอง คือ ที่บ้านปางหมู และบ้านแม่ฮ่องสอน สาเหตุที่เรียกว่าแม่ฮ่องสอนก็เพราะว่าได้มาตั้งคอกฝึกช้าง ณ. บริเวณลำห้วยแห่งนี้นั่นเอง

ดอกไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

 

ดอกกระพี้จั่น

ชื่อ จั่น
ชื่ออื่น ปี้จั่น หรือ กระพี้จั่น

เป็นต้นไม้พระราชทาน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
ชื่อวิทยาศาสตร์ "Millettia brandisiana Kurz วงศ์ LEGUMMINOSAE"

ลักษณะ ไม้ต้นผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เปลือกสีเทา ใบประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 13-21 ใบ แผ่นใบย่อยมีรูปสีแกมขอบขนาน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 3-4.5 เซนติเมตร ปลายทู่ โคนมนหรือสอบ เบี้ยว ดอกรูปดอกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกตามง่ามใบ ผลเป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 9-12 เซนติเมตร เปลือกเกลี้ยงหนา คล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เม็ดสีน้ำตาล 1-4 เม็ด
 นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน
ขยายพันธุ์ เมล็ด และปักชำราก
ประโยชน์ ทำเยื่อกระดาษ ด้ามเครื่องมือ ของเล่นเด็ก ดอกไม้ประดิษฐ์

 

ประวัติเมืองแม่ฮ่องสอน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้ามโหตรประเทศผู้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้เจ้าแก้วเมืองมาออกไปจับช้างที่ป่าบริเวณนั้น เจ้าแก้วเมืองมาออกเดินทางจนถึงที่แห่งหนึ่งทางทิศใต้ริมฝั่งแม่น้ำปาย เห็นว่าเหมาะสมกับการตั้งบ้านเมืองจึงรวบรวมผู้คนชาวไทยใหญ่ในแถบบริเวณนั้นเข้ามาตั้งเป็น บ้านโป่งหมู เพราะมีหมูป่าลงกินโป่งชุมชุม เมื่อเจ้าแก้วเมืองมาจัดตั้งบ้านโป่งหมูเรียบร้อยแล้วก็ได้เดินทางต่อไปทางใต้เพื่อคล้องช้างป่าจนถึงลำห้วยแห่งหนึ่ง จึงได้หยุดพักทำการคล้องช้างและตั้งคอกฝึกช้างพร้อมทั้งรวบรวมผู้คนให้มาตั้งบ้านเรือนในแถบบริเวณนี้อีกและเรียกชื่อว่า บ้านแม่ร่องสอน และเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย จังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของเมืองไทยสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้

ข้อมูลทั่วไป

แม่ฮ่องสอน เป็นหนึ่งในหลายจังหวัดชายแดนของไทย โดยมีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของภาคเหนือ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 924 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 12,681.259 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง แม่สะเรียง ขุนยวม ปาย แม่ลาน้อย สบเมย และปางมะผ้า แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่า "เมืองสามหมอก” เนื่องจากเป็นเมืองในหุบเขาล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน ทอดขนานไปกับทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาว ดังนั้นจึงปกคลุมด้วยหมอกปี มีทิวทัศน์สวย งามตามธรรมชาติ และป่าไม้นานาพันธุ์ จนมีคำกล่าวว่าเปรียบเสมือนกับเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของเมืองไทย

 

แผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

        

 คลิกที่ภาพ เพื่อดูภาพขยาย

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่าง ๆ

อำเภอปางมะผ้า     64 กิโลเมตร  ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
อำเภอปาย        111 กิโลเมตร    ใช้เวลา 2 ชั่วโมง
  อำเภอแม่ลาน้อย  134 กิโลเมตร ช้เวลา 2 ชั่วโมงครี่ง
อำเภอแม่สะเรียง   164 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 ชั่วโมง
อำเภอสบเมย    192 กิโลเมตร    ใช้เวลา 4 ชั่วโมง

อำเภอขุนยวม     67 กิโลเมตร    ใช้เวลา 1 ชั่วโมง

 

อาณาเขต

ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉาน แห่งสหภาพพม่า
ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอกัลยานิวัฒนา อำเภอแม่แจ่ม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตกติดต่อกับสหภาพพม่า


ารเดินทางรถยนต์
แม่ฮ่องสอนในอดีตเป็นเมืองที่เร้นลับและทุรกันดารในสายตาของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป เนื่องจากเดิมนั้นการเดินทางเข้าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีถนนเพียงสายเดียว คือ ทางหลวงหมายเลข 108 ซึ่งตัดจากจังหวัดเชียงใหม่ผ่านอำเภอหางดง สันป่าตอง จอมทอง ฮอด แม่สะเรียงแม่ลาน้อย และขุนยวม มาถึงอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน รวมระยะทางประมาณ 349 กิโลเมตร เส้นทางสายนี้เป็นทางตัดขึ้นเขาสูง มีความสวยงามและคดเคี้ยวนับได้มากถึง 1,864 โค้ง ปัจจุบันมีถนนจากจังหวัดเชียงใหม่ถึงแม่ฮ่องสอนเพิ่มขึ้นอีกสายหนึ่ง คือทางหลวงหมายเลข 1095 หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าเส้นทางสายแม่มาลัย-ปาย ตัดจากอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ถึงอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอนเหลือระยะทางเพียง 245 กิโลเมตร นอกจากนี้ เส้นทางนี้ยังเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ด้วย อาทิ ห้วยน้ำดัง และถ้ำต่างๆ ปัจจุบันเป็นถนนลาดยางอย่างดีตลอดสาย และหากนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางจากจังหวัดตากไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยไม่แวะเข้าจังหวัดเชียงใหม่ก็สามารถเดินทางได้ตามทางหลวงหมายเลข 108 ผ่านอำเภอแม่สอด-แม่ระมาด-ท่าสองยาง ถึงอำเภอแม่สะเรียง มีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง

 

รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ
มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศของบริษัทเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือหมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร ทุกวันๆ ละ 3 เที่ยว
เวลา 15.00 น., 17.00 น. และ 18.00 น.และจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนไปกรุงเทพฯ เวลา 14.00 น., 15.00 น. และ 16.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท สมบัติทัวร์ โทร. 02-792-1444

จากเชียงใหม่ มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ วิ่งบริการ 2 เส้นทางคือ สายเชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน (ทางหลวงหมายเลข 108) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 06.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทางถึงอำเภอแม่สะเรียง 4 ชั่วโมง ถึงแม่ฮ่องสอน 8 ชั่วโมง

- สายเชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน มีรถบัสและรถตู้บริการวันละหลายเที่ยว รถบัส ตั้งแต่เวลา 07.00 -12.00 น. และรถตู้ เวลา 06.30-14.30 น.
(ทางหลวงหมายเลข 107 และ 1095)

ทางเครื่องบิน

มีบริการเที่ยวบินระหว่าง เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ทุกวัน ๆ ละ 2 เที่ยว และเที่ยวบินระหว่าง เชียงใหม่-ปาย ทุกวัน ๆ ละ 2 เที่ยว โดยสายการบิน นกแอร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่ง ติดต่อได้ที่ โทร. 1318 หรือ 02-900-9955 และ http://www.nokair.com/

ขนบธรรมเนียม ประเพณี เมืองแม่ฮ่องสอน


งานเทศกาลชิมชาบ้านรักไท


งานเทศกาลดอกบัวตอง

จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ที่อำเภอขุนยวม ในงานมีการละเล่นและมหรสพพื้นเมืองและร่วมสมัย มีการประกวดธิดาบัวตอง การแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาวไต และชาวไทยภูเขา การจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง การแข่งขันกีฬาชาวดอย


ประเพณีสิบสองมนล่องผ่องไต

ประเพณีลอยกระทงไทยใหญ่ เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวไต ซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีคติความเชื่อว่าเป็นการจัดขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา และบูชาพระอุปคุต 8 องค์

 

 


งานประเพณีปอยส่างลอง
หรืองานบวชลูกแก้ว

เป็นประเพณีตามธรรมเนียมชาวไทยใหญ่ซึ่งถือได้ว่า กุศลแรงกว่าการบวชพระ จัดให้มีขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ตรงกับปิดเทอมฤดูร้อน โดยชาวบ้านจะตกลงกันกำหนดวันนัดหมายให้ลูกหลานได้บวชเรียนพร้อมๆกัน โดยผู้ที่จะบวชเณรจะมีการแต่งกายด้วยเครื่องประดับมีค่าอย่างสวยงาม และประกอบพิธีบวชที่วัดก้ำก่อ ตรงข้ามทางขึ้นพระธาตุดอยกองมู


งานประเพณีจองพารา

เป็นประเพณีออกพรรษาหรืองานปอยเหลินสิบเอ็ด จัดขึ้นในวันขึ้น13-14 ค่ำ เดือนสิบเอ็ดจะมีงานตลาดนัดทั้งวันทั้งคืน เพื่อให้ชาวบ้านไปจับจ่ายเตรียมไปทำบุญที่วัด ในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งในวันนั้นมีการตักบาตรเทโว การแห่จองพารา หรือปราสาทรับเสด็จพระพุทธเจ้า
จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณหมู่บ้านรักไท อำเภอเมือง เนื่องจากราษฎรมีอาชีพปลูกใบชา ดังนั้นเทศกาลชิมชานี้ จึงจัดขึ้นเพื่อเป็น การสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกชา และส่งเสริมการท่องเที่ยว


ประเพณีลอยกระทง หรืองานเหลินสิบสอง

จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสอง โดยชาวบ้านจะจัดทำกระทงเล็กๆ ไปลอยตามแม่น้ำ มีการประกวดกระทงใหญ่ที่หนองจองคำ ซึ่งเป็นหนองน้ำสาธารณะกลางเมือง มีการแสดงมหรสพรื่นเริง ตามบ้านเรือนจะมีการจุดประทีปโคมไฟสว่างไสว
 
 

 

 

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง

บ้านยอดดอย บ้านน้ำเพียงดิน บ่อน้ำร้อนผาป่อง พระตำหนักปางตอน วัดจองคำ วัดหัวเวียงหรือวัดกลางเมือง พระธาตุดอยกองมู อนุสาวรีย์พระยาสิงหนาทราชา วนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ น้ำตกซู่ซ่า กระเหรี่ยงคอยาว เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำผาป่อง วนอุทยานถ้ำปลา

 

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอปาย

โป่งน้ำร้อนท่าปาย น้ำตกแม่เย็น โป่งน้ำร้อนเมืองแปง โป่งน้ำร้อนท่าปาย กองแลน เจดีย์พระธาตุแม่เย็น วัดน้ำฮู วัดกลาง น้ำตกหมอแปง แม่น้ำปาย น้ำตกแม่เย็น โป่งน้ำร้อนท่าปาย

 

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอขุนยวม

บ่อน้ำร้อนหนองแห้ง ทุ่งบัวตองดอยแม่อูคอ โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่า-รักษาพันธุ์ไม้ ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นอำเภอขุนยวม วัดต่อแพ ยอดดอยปุย น้ำตกแม่สุรินทร์

 

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอแม่ลาน้อย

น้ำตกดาวดึงส์ บ้านกะเหรี่ยงแม่สะกั๊วะ บ้านกะเหรี่ยงห้วยห้อม หมู่บ้านละว้า ถ้ำแม่ฮุ

 

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอแม่สะเรียง

อุทยานแห่งชาติสาละวิน ทุ่งบัวตองดอยแม่เหาะ พระธาตุจอมมอญ วัดแสนทอง วัดจองสูงหรือ วัดอุทยารามณ์ วัดกิตติวงศ์ บ้านกะเหรียงพะมะลอ ถ้ำเง้า

 

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสบเมย

หมู่บ้านสวยงามบ้านแม่ลามาหลวง แม่สามแลบ น้ำตกแม่ริด ล่องแก่งแม่เงา สถานศึกษาธรรมชาติ และสัตว์ป่า ถ้ำ

 

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอปางมะผ้า

สถานศึกษาธรรมชาและสัตว์ป่า ถ้ำต่าง ๆ (เช่น ถ้ำลอด)
 
 
 
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

วนอุทยานแก้วโกมล
อ.แม่ลาน้อย

 

ของที่ระลึก
    ของที่ระลึกจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้แก่ อัญมณี ตลอดจนสินค้าพื้นเมืองต่างๆ เช่น น้ำผึ้งป่า ใบชา หมวกชาวไต (ชาวไทยใหญ่ เรียกว่า "กุ๊ป” มีลักษณะเป็นหมวกปีกกว้างใบกลม ตรงกลางยอดแหลมเหมือนเจดีย์) มูลี่ทำจากไม้ไผ่ เสื่อทอไทยใหญ่ ผ้าซิ่นไหม ผ้าทอ ฝีมือกะเหรี่ยง ของขบเคี้ยว เช่น ถั่วแป๊ะหล่อ แป๊ะยี เป็นต้น

 

อำเภอ ขุนยวม

น้ำตกแม่อูคอ ทุ่งบัวตอง ดอยแม่อูคอ วัดม่วยต่อ
ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นอำเภอขุนยวม วัดต่อแพ น้ำตกแม่สุรินทร์
โครงการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารี น้ำตกแม่ยวมหลวง วนอุทยานทุ่งบัวตอง
 
 
 
 
 
 
 
 
- | จำนวนเข้าชม 4890 ครั้ง